วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เตรียมประชุม ธันวาคม 2552

นำเสนอ Web พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม ภาระกิจแพทย์ ตารางเวร
1 ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง
2 OPD มีผู้มารับบริจาคทั้งรับบริจาคโลงศพ ผ้าป่า

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนปรับ ตึก 2 ชั้นเพื่อใช้เป็น

ปรับเปลี่ยนบนพื้นฐาน
1 นึกถึงผู้รับบริการเป็นหลัก
2 ภายใต้จัดหา จัดซื้อ จัดทำ ของเพิ่ม น้อยที่สุด
3 ตึกชาย ย้ายชั่วคราว เพื่อปรับปรุง สักพักก้อต้องย้ายกลับ
4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หญิงหลังคลอด ตึกชาย ส่งเสริม (ANC คลินิกสร้างภูมิคุมกัน) TB Asthma freind clinic

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

R2R

มาทำความเข้าใจกับ R2R กันครับ

เมื่อต่อการค้นหาคำตอบจากคำถามว่า “เงื่อนไขของ R2R” หากจะเป็น R2R ต้องมีอะไรบ้าง ก็ได้คำตอบในเบื้องต้น (ยังไม่น่าจะครอบคลุมทั้งหมด) เช่น

1. ต้องเริ่มต้นจากปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากหน้างาน หรืองานประจำที่ตนเองทำและรับผิดชอบดำเนินการอยู่

2. ต้องเป็นการวิจัยจริง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ

3. ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะแก้ไขปัญหา/พัฒนา/ต่อยอด/ขยายผล งานที่ทำอยู่อย่างไร

4. ไม่ควรจะเน้นที่งบประมาณในการดำเนินการเป็นการเฉพาะมากนัก ควรใช้โอกาสและงบประมาณที่ใช้ทำงานประจำอยู่แล้ว

5. ต้องเริ่มต้นที่ใจอยากทำ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย ไม่ควรจะใช้วิธีการบังคับให้ทำ

6. ควรจะเห็นวิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและทีมงานในกระบวนการทำ R2R

7. ต้องไม่รู้สึกว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น

8. ต้องพิจารณาที่ “งานประจำ” เป็นหลัก เพราะแต่ละคนที่ทำ R2R ทำงานต่างตำแหน่ง บทบาท หน้าที่ หรือ ต่างบริบทกัน การจะนำแต่ตัวงานวิจัยมาพิจารณาจะทำไม่ได้ว่าอะไรเป็นวิจัยในงานประจำหรือเป็นวิจัยทั่ว ๆ ไป

9. การทำวิจัยในงานประจำน่าจะเป็นการคิดแบบ initiation, creation หรือ innovation

10. …

กล่าวโดยสรุปการทำวิจัยในงานประจำ (R2R: Routine to Research) จึงหมายถึงกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนางานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยจะมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนผู้ร่วมงาน อันจะส่งผลกระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กรนั้น



จากข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่พอจะสรุปได้ในตอนนี้เท่านั้น บันทึกมาเพื่อขอเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยครับ (อ่านเพิ่มเติมที่ http://gotoknow.org/blog/tri-paki/167244)




บริบท R2R
คือการทำงานเป็นทีม คือทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันใช้ความรู้ อยากร่วม และการร่วมกันนั้น ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน


R2R เริ่มอย่างไร

เริ่มจากงานประจำ (routine) อะไรก็ได้ แต่เห็นว่าแปลกตา แล้วอยากปรับ แล้วก็ศึกษา และปรับอย่างเป็นระบบ แล้วก็ทบทวน วนเป็นวงจร

ว่าไปแล้ว ก็เป็นวงจร PDCA ในการพัฒนางานประจำนั่นเอง แต่บริบท R2R คือการทำงานเป็นทีม คือทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันใช้ความรู้ อยากร่วม และการร่วมกันนั้น ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ประเด็นสำคัญยิ่งของ R2R คือ ผู้ปฏิบัติมองเห็นปัญหา ไม่ใช่สั่งให้ทำ และทำเป็นทีม

คณะได้อะไรจากการทำ R2R (หมายถึงในแนวทางข้างต้น)

ได้วิธีการแก้ปัญหา โดยผู้ปฏิบัติเป็นคนแก้

ผู้ปฏิบัติเป็นคนแก้ปัญหา “เอง” อย่าง “เป็นระบบ”

เป็นตัวอย่างให้หน่วยงานอื่นอยากทำ

ผู้ปฏิบัติได้อะไร

ภูมิใจที่ได้แก้ปัญหาเอง

ได้ฝึกทักษะแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

ได้วิชาการจากการอ่าน และ การเขียนรายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

RM HA 601














วันนี้เราจะมาพูดถึงความเสี่ยงนะครับ

1 ประเภทของความเสี่ยง

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์


สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาล ได้แก่ อันตรายหรือการบาดเจ็บต่อร่างกายและจิตใจ เหตุร้าย ภาวะคุกคาม ความไม่แน่นอน exposure และการเปิดเผยความลับ

ความเสี่ยงที่เกิดกับผู้ป่วย มีทั้งด้านกายภาพ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
ความเสี่ยงที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วย เรียกว่า ความเสี่ยงทางด้านคลินิก ซึ่งอาจจำแนกเป็น ความเสี่ยงด้านคลินิกทั่วไป และความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค สำหรับ รพ.สังขะของเราแบ่งความ

สำหรับ รพ.สังขะของเราแบ่งความเสี่ยง เป็น 2 ประเภทได้แก่
1 ความเสี่ยงทางด้านคลินก
2 ความเสี่ยงทางด้าน Non clinic

2 Systemic focus and systemic approach

เมื่อเกิดความเสี่ยง ท่านคิดว่า ท่านจะเน้นการปรับปรุงที่ตัว บุคคลหรือปรับที่ระบบงานดีกว่า
ถูกต้องแล้วครับ ... เราควรจะเน้นปรับปรุงที่ตัวระบบงานมากกว่าที่จะกล่าวโทษตังบุคคลที่เป็นต้นเหตุของปัญหา (systemic focus)
ทีนี้เรามาดูคำว่า Syetemic appraoch กัน
Systemic approach เป็นความพยายามที่จะทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีข้อจำกัด
pic Risk management system
3. วัฒนธรรมความปลอดภัย
วัฒนธรรมคือวิถีชีวิตที่ดีงาม ที่ผู้คนปฏิบัติคล้ายกันโดยอัตโนมัติ ผูคนยอมรับและปฏิบัติจนเคยชิน (การไหว้)
วัฒนธรรมความปลอดภัย คือ ความเชื่อที่ทุกคนยึดมั่น และปฏิบัติจนเป็นนิสัยไปในทิศทางเดียวกัน ในเรื่องความปลอดภัย (การล้างมือ )
Pic 2 การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
4. กิจกรรมบริหารความเสี่ยงในบันไดขั้นที่ 3
การแบ่งระดับความรุนแรงของความเสี่ยง

1. ความเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็น 9 ระดับดังนี้

A : เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอุบัติการณ์ เช่น เกือบ off ICD ผิดคน แต่ตรวจพบก่อน เนื่องจากมีการย้ายเตียงผู้ป่วยและแพทย์คิดว่าอยู่เตียงเดิม หรือเขียนใบ request X-ray/lab ผิด แต่ยังไม่ทันได้ order หรือพื้นทางเดินเปียกเสี่ยงต่อการลื่นล้ม เป็นต้น

B : เกิดอุบัติการณ์ขึ้น แต่ไม่ส่งผลถึงผู้ป่วย เช่น ส่งผู้ป่วยไป x-ray ผิดคน แต่ยังไม่ทันได้ x-ray หรือ จ่ายเลือดผิดแต่ตรวจสอบพบก่อนที่จะให้ผู้ป่วย หรือแพทย์ set ผ่าตัดผิดคน / ผิดข้าง แต่ทราบก่อนที่หอผู้ป่วยจะเตรียมผ่าตัดผู้ป่วย หรือเภสัช ฯ จ่ายยาผิดแต่ดักจับพบก่อน เป็นต้น

C: เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย แต่ไม่ทำให้ได้รับอันตราย เช่น แพทย์ set ผ่าตัดผู้ป่วยผิดราย ผู้ป่วยได้รับการเตรียมผ่าตัดผิดไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด หรือ x-ray ผู้ป่วยผิดข้าง / ผิดคน แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับอันตราย หรือเจาะเลือดผู้ป่วยผิดราย แต่ทราบก่อนที่จะส่งไป หรือให้ยา MTV ผิดเวลา เป็นต้น

D : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย และต้องการการเฝ้าระวัง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดอันตราย หรือต้องมีการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยตกเตียงแล้วต้องมีการสังเกตอาการ/เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ( neurological signs )แต่ไม่มีการรักษาอื่นเพิ่มเติม

E : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องมีการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยตกเตียง ศีรษะแตกต้องให้แพทย์เย็บแผล

F : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องนอนโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลนานขึ้น

G : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายถาวร

H : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เตรียมประชุม RM 24 -11 -09


มาตรฐานที่ต้องมี


ค้นหาและจัดลำดับความสำคัญ


1 การเขียนใบ IR การลงข้อมูลทางคอม
2 ข้อมูลจากการ Round PCT IC ENV
3 ผลการทบทวน 12 กิจกรรม ประสาน PCT ส่งทุกวันที่ 21 ของเดือน
4 บันทึกประจำวัน ผลการประชุมเดือนของหน่วยงาน ทีมคุณภาพ
(ลงแบบฟอร์ม ประจำเดือน)
5 คำร้องเรียน จากตู้ร้องเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สมุดบัญทึกความคิดเห็นจากญาติ
6 ทบทวนเวชระเบียนโดย trigger tool โดย PCT PTC ขอทุก 21 ของเดือน
7 วิเคราะห์กระบวนการหลัก
8 ข่าว สื่อ ความเสี่ยง รพ อื่น นโยบายจาก สสจ กระทรวง ร ทีม RMจัดลำดับความสำคัญ ตาราง 1

clinical
A-I
Non clinical (ชื่อเสียง)
0 = ไม่ผลกระทบ
1 = ในหน่วยงาน
2 = ทั้ง รพ
3 = ทั้ง รพ คนนอก
4 = ทั้ง รพ คนนอก สื่อ ร้องเรียน
5 = ฟ้องร้อง

Non clinical(ด้านการเงิน)
0 = 0
1 = < 2 =" 10,001-50,000" 3 =" 50.001-" 4 =" 100,001"> 500,000

กำหนดมาตรการป้องกัน สื่อสาร สร้างความตระหนัก

ระบบรายงานอุบัติการณ์
(ปรับ flow )
- ปรับแบบฟอร์มการทบทวนสื่อสารระบบที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์หาสาเหตุและการแก้ปัญหา

ใบ IR ทางคอม ระดับความรุนแรงน้อย pop up

ประเมินประสิทธิผลแบบ form RCA FMEA Risk matrix

Trend ผลการวิเคราะห์

ประสานระบบที่เกี่ยวข้อง

แผน17- 19 พ.ย ส่งผู้รับผิดชอบอบรม
3 ธ.ค 52 ประชุมทีม RM นโยบายความปลอดภัย เตรียมอบรม
กลางเดือน ประชุมคุณภาพ ประจำเดือน เสนอและผลการประชุม 3 ธ.ค 2552 IR ทางคอม web RM flow แบบฟอร์ม
4- 20 ธ.ค 52 เตรียมอบรม
20 – 29 ธ.ค อบรมบุคคลากร RM +work shop simple safety culture 100 %
21 ของเดือน รวบรวม วิเคราะห์ ความเสี่ยง

กลางเดือน รายงาน ความคืบหน้าทุกเดือน
มกรา และทุก 3 เดือน สร้างแรงจูงใจ จัดเวทีนำเสนอ

ทุก 1 ปี เพิ่มศักยภาพ RM ทุกปี ตาม พรพ

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ธรรมนูญองค์กรแพทย์

ธรรมนูญองค์กรแพทย์


ธรรมนูญองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลสังขะ

หมวดที่ 1
ข้อที่ 1 บททั่วไป
1.1 องค์กรนี้ชื่อว่า “องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ
1.2 สำนักงานห้องพักแพทย์
1.3 ธรรมนูญองค์กรแพทย์ หมายถึง กฎหรือระเบียบซึ่งเป็นข้อบังคับในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรแพทย์

ข้อที่ 2 วัตถุประสงค์
2.1 รักษามาตรฐานทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
2.2 เสริมสร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในกลุ่มแพทย์
2.3 ประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
2.4 วิเคราะห์นำเสนอการบริหารทางการแพทย์ โดยสอดคล้องกับนโยบายโรงพยาบาลสังขะและกระทรวงสาธารณสุข
2.5 ร่วมในการพัฒนาโรงพยาบาลตามนโยบายของโรงพยาบาล
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สมาชิกองค์กร

หมวดที่ 2
สมาชิกองค์กรแพทย์
ข้อ 3 สมาชิกองค์กรแพทย์ได้แก่ แพทย์ที่ปฏิบัติราชการโรงพยาบาลสังขะ
ข้อ 4 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ ตาย ลาออกจากราชการ ย้ายไปปฏิบัติงานที่อื่น

หมวดที่ 3 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ 5 ประธานองค์กรแพทย์ คือหัวหน้าแพทย์เวชปฏิบัติ ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการ
ข้อ 6 สมาชิกมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
6.1 ดำเนินการขององค์กรแพทย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
6.2 ตั้งคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมขององค์กรแพทย์
6.3 ดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือมติขององค์กรแพทย์

หมวดที่ 4 การจัดประชุม
ข้อ 7.1 ต้องจัดให้มีการประชุมองค์กรแพทย์อย่างน้อยทุก 1 เดือนและต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 % ของสมาชิกจึงถือว่าครบองค์ประชุม

หมวดที่ 5 มติขององค์กรแพทย์
ข้อ 8 มติขององค์กรแพทย์ถือเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับที่สมาชิกต้องปฏิบัติ
ข้อ 9 การลงมติใดๆ จะมีได้ต่อเมื่อมีผู้เข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม
ข้อ 10 คณะกรรมการองค์กรแพทย์จะต้องแจ้งมติการประชุมให้สมาชิกทุกคนทราบ

หมวดที่ 6 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงธรรมนูญองค์กรแพทย์จะกระทำโดยมีสมาชิกร่วมลงชื่อสนับสนุนอย่างน้อยเกินครึ่งของสมาชิกทั้งหมดเสนอผ่านผู้อำนวยการ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

MSO prepare

บทที่ 11 องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ

MED.1 เป้าหมายและวัตถุประสงค์


มีการกำหนดพันธกิจ ขอบเขต เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการจัดบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล และของหน่วยให้บริการทางการแพทย์แต่ละสาขา เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน

องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อธำรงรักษามาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตลอดจนการพัฒนาเวชปฏิบัติและทบทวนวิชาการเพื่อบริการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยและต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติศึกษา วิเคราะห์งานด้านเวชระเบียนและข้อมูลการบริการทางการแพทย์หรือตัวชี้วัด พร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนที่มารับการรักษาจากโรงพยาบาลสังขะ มั่นใจว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ อีกทั้งเป็นองค์กรส่งเสริมความสามัคคีระหว่างสมาชิก และประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาคุณภาพงานบริการแก่ผู้ป่วย และเป็นที่แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทางวิชาชีพและสามารถสรุปเป็นมติขององค์กรแพทย์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลสังขะ

MED.2 การจัดองค์กรและการบริหาร
มีการจัดองค์กรและการบริหารเพื่อจัดให้มีบริการทางการแพทย์ ตามพันธกิจที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
โรงพยาบาลสังขะ จัดแบ่งองค์กรแพทย์แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่
1.โครงสร้างการบริหาร
2.โครงสร้างคณะทำงานด้านคุณภาพ แพทย์ทุกท่านรับผิดชอบงานคุณภาพทุกคน เป็นแกนนำในการัฒนางานคุณภาพในทุก ๆ ด้าน

MED.3 การจัดการทรัพยากรบุคคล

มีการคัดเลือกการกำหนดสิทธิการดูแลผู้ป่วย การจัดอัตรากำลัง และการดูแลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้แพทย์ที่มีความรู้ ทักษะ และจำนวนที่เหมาะสมกับภาระงาน
3.1 มีการจัดจำนวนแพทย์ปฏิบัติงานเพียงพอตามความจำเป็นของผู้ป่วย
จำนวนการปฏิบัติงานของแพทย์ขึ้นกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยทางกลุ่มงานต่าง ๆ จะรับผิดชอบจัดสรรแพทย์ให้พอเพียงต่อการปฏิบัติแต่ละด้าน โดยให้แต่ละกลุ่มงานได้วิเคราะห์ภาระงาน ความจำเป็นและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ และทางกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพจะจัดสรรจำนวนแพทย์ใช้ทุน ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในกลุ่มงานต่าง ๆ โดยเสมอภาคตามข้อกำหนดของกระทรวง
3.2 มีกลไกดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมและแพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ กลไกการดูแลแพทย์ฝึกหัดที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ
- ปฐมนิเทศรวม โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ แบ่งเป็นปฐมนิเทศในสถานที่ จะมีการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน สิทธิ ผลประโยชน์ นโยบายโรงพยาบาล และนอกสถานที่ จะเน้นถึงความสัมพันธ์ในองค์กร , ปฐมนิเทศย่อยของกลุ่มงาน โดยจัดทำคู่มือปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนให้ด้วย
- ได้มีการสื่อสารจนมีความเข้าใจร่วมกันให้มีการปรึกษาผ่านระบบสื่อสารได้ตลอดเวลา

MED.4 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มีการเตรียมความพร้อม การพัฒนา และการฝึกอบรมให้กับแพทย์ เพื่อส่งเสริม และเอื้ออำนวย ให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของแพทย์แต่ละคน
4.1 มีการประเมินความต้องการและกำหนดเนื้อหาในการฝึกอบรม
ทางโรงพยาบาลมีนโยบายส่งเสริมด้านการพัฒนางานในด้านวิชาการและความรู้ โดยแพทย์ทุกคนสามารถสมัครไปอบรมเรื่องวิชาชีพ และความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างน้อย 2 ครั้ง/คน/ปี โดยเนื้อหาจากการประชุมมีประโยชน์ภายในกลุ่มงานสามารถนำมาพัฒนาศักยภาพ เฉพาะด้านในแต่ละคนได้
4.2 มีแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
โรงพยาบาลสนับสนุนให้แต่ละกลุ่มงานร่วมประชุมวิชาการภายในกลุ่มงาน โดยสามารถเชิญวิทยากรภายนอกได้อย่างอิสระ และสนับสนุนเงินทุนด้านตำราหนังสือวิชาการเข้าห้องสมุดและห้องพักแพทย์ทุกปี สำหรับงานบางด้านที่ต้องการความรู้เฉพาะด้าน มีการสื่อสารให้แพทย์ผู้เกี่ยวข้องไปอบรมโดยตรงตามความเหมาะสมไม่จำกัดจำนวนครั้ง
4.3 มีการจัดปฐมนิเทศสำหรับแพทย์ใหม่ หัวหน้าหน่วยงาน และประธานคณะกรรมการ ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ ในเรื่องนโยบาย วิธีการทำงาน และความคาดหวังขององค์กร
ทางโรงพยาบาลได้จัดปฐมนิเทศให้แก่แพทย์จบใหม่และผู้ที่ย้ายมาปฏิบัติงานใหม่ทุกปี รวมถึงปฐมนิเทศภายในหน่วยงานเพื่อให้รับทราบระเบียบละแนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง และนโยบายโรงพยาบาลกำแพงเพชร
4.4 มีการพัฒนา ฝึกอบรม และศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ ที่สอดคล้องกับปัญหาการดูแลรักษาผู้ป่วย โรงพยาบาลมีกลุ่ม resource plan ประสานงานกับองค์กรแพทย์ โดยคำนึงถึงศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้นแพทย์ทุกกลุ่มงานจะมีการวางแผนส่งแพทย์ไปอบรม เพื่อปฏิบัติงานแก้ปัญหาของโรงพยาบาล
4.5 มีการประเมินแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปของการเปลี่ยนพฤติกรรม และผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วย
องค์กรแพทย์ มีการประเมินผลการปรับแผนพัฒนาทรัพยากรทุกปี เพื่อสอดคล้องกับผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วย

MED.5 ธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติ
มีธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งสะท้อนความรู้และหลักการวิชาชีพที่ทันสมัย สอดคล้องกับพันธกิจของบริการทางการแพทย์/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และทุกคนยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
5.1 มีการจัดทำธรรมนูญหรือข้อบังคับขององค์กรแพทย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลมาตรฐานและจริยธรรมการทำงานโดยกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันเอง โดยคณะแพทย์มีส่วนร่วมในการจัดทำ และได้รับการรับรองจากองค์กรบริหารสูงสุด
5.2 มีกระบวนการจัดทำนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ รวมทั้งมีระบบในการรับรอง เผยแพร่ และทบทวน คณะกรรมการองค์กรแพทย์มีการจัดทำนโยบาย วัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กรแพทย์
5.3 เนื้อหาของนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์มีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล ครอบคลุมเรื่องของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การบริหารจัดการ ประเด็นทางจริยธรรม/กฎหมาย/สังคม ความปลอดภัย และการพัฒนากำลังคน
นโยบายขององค์กรแพทย์ ประกอบด้วย 4 ข้อ
- พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
- พัฒนาและทบทวนวิชาการให้ทันสมัยสอดคล้องกับการปฏิองแพทย์บัติงาน
- พัฒนาความสมบูรณ์และวิเคราะห์งานด้านเวชระเบียน
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของแพทย์
- สอดคล้องกลยุทธ์ของโรงพยาบาลในงานด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานวิชาชีพ

5.4 แพทย์ทุกคนรับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบาย/วิธีปฏิบัติ
ข้อตกลง/ข้อปฏิบัติใด ๆ ในองค์กรแพทย์ที่สำคัญจะต้องผ่านการรับรองจากสมาชิกทุกคนขององค์กรแพทย์

MED.6 การดูแลผู้ป่วย
แพทย์ทุกคนให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ และอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่ทันสมัย
6.1 มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างสหสาขาวิชาชีพต่างๆและภายในวิชาชีพแพทย์
งานด้านการดูแลผู้ป่วยร่วมกันในระหว่างสหสาขาวิชาชีพ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของแพทย์ ได้แก่ การรวบรวม PCT ของทีมเฉพาะด้าน เช่น ผลงานการดูแลผู้ป่วยของแต่ละ PCT เช่น
- PCT Med :

Melioidosis treatment
สูตรผสม Inotrope drugs
Epilepsy guideline
Hypertensive crisis guideline
Cellulitis - NF guideline
Acute febrile guideline
Strongyloidosis treatment
H1N1 guideline
Leptospirosis guideline
Malaria guideline


http://sangkha-medicine.blogspot.com/2009/11/155-70yr-f-dizziness-1-mo.html

- PCT สูตินรีเวชกรรม : แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
- PCT กุมารเวชกรรม : แนวทางการดูแลเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย
- PCT เวชปฏิบัติทั่วไป :

การรับปรึกษาระหว่างแผนกมีแนวทางการรับปรึกษาชัดเจนระหว่างแผนก เช่น แนวทางการรับปรึกษาผู้ป่วยแผนก อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ใน/นอกเวลาราชการ
6.2 ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการดูแลรักษา
ถือเป็นข้อตกลงร่วมกับของสมาชิกองค์กรแพทย์ โดยคณะอนุกรรมการ จริยธรรมวิชาชีพ และสิทธิผู้ป่วย กำหนดให้มีแนวทางการให้ข้อมูลผู้ป่วยของแพทย์ เช่น การให้ข้อมูลการวินิจฉัยโรค, การดำเนินการของโรค,การพยากรณ์โรค,ทางเลือกในการรักษา และให้ผู้ป่วย มีสิทธิเลือกแนวทางการรักษา
6.3 มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว กับทีมผู้ให้บริการ
ทางองค์กรแพทย์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่แพทย์ต้องให้การบริการแก่ผู้ป่วย และญาติ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย
6.4 ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการประเมินและวางแผนการดูแลรักษาเป็นระยะ

องค์กรแพทย์ได้กำหนดให้มีการพัฒนาการประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ โดยเริ่มทำผ่านทาง progress note ของแพทย์ เพื่อสะดวกในการประเมินลักษณะทางคลินิกตลอดจน แผนการรักษาที่ปรับเปลี่ยนตามอาการทางคลินิก ของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลง
6.5 กระบวนการให้บริการและดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ของโรงพยาบาล มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาล ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิผลของวิธีการรักษา
องค์กรแพทย์โดย PCT ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติการรักษาโรคที่สำคัญ พบบ่อย และมีความเสี่ยงสูง โดยมุ่งเน้นคุณภาพของการรักษา และความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วย ญาติและผู้ให้บริการ โดยแต่ละ PCT มี CPG ดังนี้
---------------------------------ขอข้อมูล PCT

6.6 มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย แผนการดูแลรักษา การปฏิบัติตามแผน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการและเกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา
คณะกรรมการองค์กรแพทย์ได้จัดทำ Admission note ,orderและจัดทำ Progress note มีประโยชน์ ในการสื่อการ การเปลี่ยนเเปลงทางคลินิกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานแพทย์ พยาบาล ทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยร่วมกัน
6.7 มีกระบวนการที่จะช่วยให้ผ้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุด
องค์กรแพทย์ผ่านทุก PCT มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องถึงระดับในชุมชน โดย PCU ในด้านการดูแลต่อเนื่องให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุด และรายงานกลับโดยใช้แบบ บส.1
ทุก PCT มี Discharge plan ในโรคที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ป่วย DM ,Stroke ใน PCT Med, ผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง , Necrotizing fasciitis , CA Breast ใน PCT ศัลยกรรม , ผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูก และผ่าตัดคลอด ใน PCT สูตินรีเวชกรรม , ผู้ป่วย Thallassemia, Diarrhea ใน PCT กุมารเวชกรรม

MED.7 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
มีกิจกรรมติดตามประเมินและพัฒนาคุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์ โดยการทำงานเป็นทีม สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของโรงพยาบาล และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
7.1 มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของบริการทางการแพทย์ โดยความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ/ทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งภายในหน่วยงาน/ระหว่างหน่วยงาน ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารทางการแพทย์
ทางองค์กรแพทย์ ตัวอย่าง Grand round PCT conference caee มีตัวแทนของสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง , แพทย์ใช้ทุน พยาบาล เภสัช นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย นักโภชนากร
การดูแลผู้ป่วยในโรคอุบัติใหม่ที่สำคัญของอำเภอสังขะ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ (swine flu) ซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงและสำคัญ ระดับประเทศ ซึ่งทางแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร่วมกันกำหนดแผนในการเตรียมรับสถานการณ์ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างดี ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร จนไม่มีปัญหาในการรับผู้ป่วยดังกล่าว สามารถกำหนดสถานที่รองรับที่ถูกต้องตามระบาดวิทยา และได้จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นมาตรฐานของโรงพยาบาลของโรงพยาบาลสังขะ
7.2 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพประกอบด้วย
7.2.1การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วยและลูกค้า (customer) หรือบุคคล/หน่วยงานที่ใช้บริการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทางองค์กรแพทย์ได้รับข้อมูลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการจากหน่วยงานด่านหน้า ได้มาปรับให้บริการเหมาะสมยิ่งขึ้น ได้แก่ ปรับให้มีแพทย์ออกตรวจช่วงเวลา 07.30 - 08.30 และ 16.30 - 20.00
7.2.2 การควบคุมกำกับ (monitor) ข้อมูลและสถิติ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ
การควบคุมเกี่ยวกับข้อมูลและสถิติ ได้กระทำผ่าน PCT ทุกเดือน โดยศูนย์ข้อมูล และกลุ่มพัฒนาบริการสุขภาพ ได้จัดทำข้อมูล และนำไปวิเคราะห์ผลเพื่อการปรับปรุง
การวิเคราะห์ผลลัพธ์ตัวชี้วัดของนโยบายพัฒนาคุณภาพขององค์กรแพทย์ ดังนี้

นโยบาย
เครื่องชี้วัด
ผลลัพธ์
1. พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
1.1 Preventable Death ลดลง > 40 %
1.2 ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ไม่เกิน 3: 100
1.3 จำนวนเรื่องร้ายแรงที่ถูกร้องเรียนเกี่ยวกับองค์กรแพทย์ = 0
Preventable Death 13.23 % เหลือ 5.63%
0.54 : 100

0
2. พัฒนาและทบทวนวิชาการทันสมัย
1.1 จำนวนหรือ % ของ CPG ที่มีและมี การใช้งานอย่างต่อเนื่อง
1.2 อัตราการพัฒนาบุคลากรทางด้านแพทย์ และทันตแพทย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
22 CPG ใช้งาน 100 %

90.36 % (ตค.46-กย.47)
3. พัฒนาความสมบูรณ์ และวิเคราะห์งาน ด้านเวชระเบียน
1.1 ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนไม่น้อยกว่า 50 %
1.2 Utilization review อย่างน้อย 1 เรื่อง/ปี
1.1 ความสมบูรณ์ของเวชระเบียน = 51.95% (กพ.-เมย.48)
1.2 เรื่อง การใช้ยา Sandostatin และการส่ง CT Brain
7.2.3 การเลือกกิจกรรมหรือกระบวนการดูแลรักษาและบริการที่สำคัญมาประเมินและปรับปรุง
7.2.4 การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพโดยใข้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการ ค้นหาสาเหตุต้นตอ (Root causes) ที่แท้จริง ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ
องค์กรแพทย์โดยคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐาน ได้ทำการแนะนำ แต่ละ PCT เริ่มกิจกรรมวิเคราะห์กระบวนการรักษาที่สำคัญ และปรับปรุงอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง โดยได้แนะนำกิจกรรม Trauma /Surgical audit เป็นตัวอย่าง ในการนำปัญหาของการรักษาพยาบาลผู้ป่วย มาทำการวิเคราะห์ และปรับปรุงค้นหา สาเหตุต้นตอที่แท้จริง เช่น ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยในภาวะ Shock ว่ามีปัญหาจากสาเหตุใด ปัญหาในการดูแลผู้ป่วย NF จนสามารถรู้สาเหตุของปัญหาและสามารถนำกระบวนการ audit มาใช้ในการสร้างสรรค์แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ได้แก่ ลด preventable death ได้ชัดเจน
7.2.5 การประเมินการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาคุณภาพ และเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ
ผลจากการทบทวนในด้านการพัฒนาคุณภาพ ได้มีการเผยแพร่เอกสาร การทบทวนดังกล่าวแก่โรงพยาบาลชุมชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพช.ทั้ง10 แห่ง
7.2.6 การติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องในระยะยาว
การติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ได้แก่ การเก็บตัวเลข ในแง่ preventable death/complication ของ Trauma audit และผู้ป่วย DM. การวิเคราะห์ความเหมาะสมในการส่ง CT brain ในผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง
7.3 มีการนำมาตรฐานแห่งวิชาชีพ และความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Evidence-based) มาเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
7.3.1 มีกระบวนการที่จะนำความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาล
ทางองค์กรแพทย์โดย PCT ของกลุ่มงานต่าง ๆ แพทย์และผู้เกี่ยวข้องจะได้นำความรู้มาตรฐาน จากราชวิทยาลัย มาจัดทำ CPG ของโรงพยาบาล โดยปรับเปลี่ยนตามศักยภาพของโรงพยาบาล
7.3.2 มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุง
ทางองค์กรแพทย์มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุง ได้แก่
- สูติ –นรีเวช ,เด็ก conference
- Trauma audit
- Clinical Review

overall scoring IM

II-5 ระบบเวชระเบียน
1. มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึก การแก้ไข การจัดเก็บ และการเข้าถึงเวชระเบียนที่เหมาะสม
2. มีการทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนตามแบบฟอร์มของ สปสช./พรพ. อย่างน้อย 3 ฉบับต่อเดือนสำหรับแพทย์แต่ละคน
· มีแนวทางอย่างไรให้แพทย์เจ้าของไข้เป็นผู้ทบทวนความสมบูรณ์ในเวชระเบียนของตนเอง
· มีการประมวลผลการทบทวนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนอย่างไร นำข้อมูลไปใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลอย่างไร
· แนวโน้มของความสมบูรณ์ของเวชระเบียนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
3. ระบบบริหารเวชระเบียนมีประสิทธิภาพ, เวชระเบียนมีความสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 50%, มีการประมวลผลข้อมูลจากเวชระเบียนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและการปรับปรุงดูแลผู้ป่วย
· ประเด็นประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชระเบียนที่ รพ.ให้ความสำคัญคืออะไร (เช่น ความรวดเร็วในการทำบัตร/การค้นหาเวชระเบียน อัตราการหายของเวชระเบียน ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผล)
· คะแนนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนเป็นอย่างไร
· มีการประมวลผลข้อมูลจากเวชระเบียนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยอย่างไร
4. มีการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจากเวชระเบียน และนำปัญหาที่พบไปปรับปรุงระบบงาน (เช่น การใช้ trigger เพื่อคัดกรองเวชระเบียนมาทบทวนหา AE และปรับปรุง)
· ใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกเวชระเบียนมาใช้ทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วย, สร้างความมั่นใจอย่างไรว่าเวชระเบียนที่นำมาทบทวนนั้นครอบคลุมโอกาสพบเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้มากที่สุด
· ขอให้ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาที่พบจากการทบทวนเวชระเบียน และการปรับปรุงระบบงานที่เกิดขึ้น (ทั้งการดูแลผู้ป่วยและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
5. ผู้ป่วยทุกรายมีเวชระเบียนซึ่งมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการสื่อสาร การดูแลต่อเนื่อง การเรียนรู้ การวิจัย การประเมินผล และการใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย
· มีการประเมินความเพียงพอของข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนเพื่อเป้าหมายการใช้ต่างๆ ข้างต้นอย่างไร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

overall scoring MSO

II-2.2 องค์กรแพทย์
1. มีการพบปะกันในกลุ่มแพทย์อย่างสม่ำเสมอและมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อเพื่อแสดงจุดยืนและธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพ
2. มีการจัดตั้งองค์กรแพทย์และกำหนดประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาและประสานเพื่อนำไปปฏิบัติ
· ประเด็นสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาในมุมมองขององค์กรแพทย์คืออะไร มีการนำไปดำเนินการอย่างไร
3. มีกลไกกำกับดูแลและส่งเสริมให้เกิดบริการทางการแพทย์ที่ดี มีมาตรฐานและจริยธรรม, แพทย์แต่ละคนประเมินผลการดูแลผู้ป่วยของตนอย่างสม่ำเสมอ
· มีแนวทางให้แพทย์แต่ละคนประเมินผลการดูแลผู้ป่วยของตนอย่างไร มีแนวทางในการเลือกผู้ป่วยมาทบทวนอย่างไร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือสรุปบทเรียนอย่างไร มีการนำมาสู่การปรับปรุงแนวทางการดูแลร่วมกันอย่างไร
· กลไกกำกับดูแลและส่งเสริมให้เกิดบริการทางการแพทย์ที่มี มีมาตรฐานและจริยธรรมมีอะไรบ้าง (เช่น กิจกรรมทบทวนคุณภาพต่างๆ การกำหนดแนวทางปฏิบัติ การส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกที่เหมาะสม การศึกษาต่อเนื่อง การประชุมวิชาการ การกำกับดูแลแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมหรือแพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ การกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรม คุณภาพเวชระเบียน)
4. มีบทบาทเด่นชัดในการเป็นผู้นำและชี้ทิศทางเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย, มีการประเมินและปรับปรุงระบบกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรม
· ขอตัวอย่างประเด็นที่องค์กรแพทย์ชี้ทิศทางเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
· ประเด็นสำคัญในการประเมินระบบกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของบริการทางการแพทย์คืออะไร ผลการประเมินเป็นอย่างไร มีการปรับปรุงอย่างไร
5. องค์กรแพทย์เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมให้ รพ.มีบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและน่าไว้วางใจ
· ขอให้นำเสนอแบบอย่างที่ดีของการส่งเสริมโดยองค์กรแพทย์

overall scoring RM

II-1.2ก. การบริหารความเสี่ยง
1. ตอบสนองปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะรายเหมาะสม
2. มีระบบรายงานอุบัติการณ์, มีการทำ RCA และวางระบบป้องกันที่รัดกุม, มีกิจกรรมสร้างความตื่นตัวในงานประจำ
· มีวิธีการส่งเสริมให้มีการรายงานอุบัติการณ์อย่างทันท่วงทีและครอบคลุมอุบัติการณ์สำคัญให้มากที่สุดอย่างไร มีการวางระบบและแรงจูงใจอย่างไร
· ทีมงานได้เรียนรู้คุณค่าของการทำ RCA อย่างไร ขอให้ยกตัวอย่าง RCAที่ทีมคิดว่าทำให้เข้าใจความหมายของ root cause ได้ดีที่สุดมา 2-3 ตัวอย่าง มีการนำไปใช้วางระบบป้องกันอย่างไร มีการขยายผลความเข้าใจจากกรณีดังกล่าวอย่างไร
· มีกิจกรรมสร้างความตื่นตัวในเรื่องความเสี่ยงในงานปกติประจำอย่างไร (เช่น safety brief, patient safety walkround)
· มีการนำกิจกรรมทบทวนคุณภาพที่เริ่มต้นไว้ในบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มาปฏิบัติในงานปกติประจำอย่างไร เช่น การทบทวนข้างเตียง การทบทวนเวชระเบียนขณะผู้ป่วยนอนรักษาตัว การทบทวนการส่งต่อ ฯลฯ
3. วิเคราะห์ความเสี่ยงรอบด้าน (ทั้งที่เคยเกิดและที่มีโอกาสเกิด), ระบบงานได้รับการออกแบบอย่างรัดกุมและนำไปปฏิบัติ
· มีการรวบรวมสถิติเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นในองค์กรมาจัดลำดับความสำคัญ และออกแบบระบบงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้ครอบคลุมเพียงใด, การออกแบบระบบมีความรัดกุมเพียงใด, มีการพิจารณาแนวคิดเรื่องการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของ human factor อย่างไร, มีการทบทวนเวชระเบียนเพื่อเรียนรู้เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทางคลินิกได้ครอบคลุมเพียงใด
· มีการวิเคราะห์โอกาสเกิดความเสี่ยงในขั้นตอนและจุดต่างๆ ของการให้บริการอย่างไร, มีการออกแบบระบบงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงสอดคล้องกับโอกาสและความรุนแรงที่จะเกิดความเสี่ยงอย่างไร
· สร้างความมั่นใจอย่างไรว่าระบบที่ออกแบบไว้ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม, มีการติดตามการปฏิบัติในเรื่องที่สำคัญอะไรบ้าง ผลลัพธ์เป็นอย่างไร
4. บูรณาการระบบงานและระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง, มีการประเมินและปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยง
· มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุบัติการณ์และความเสี่ยงต่างๆ อย่างไร, มีการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลอย่างไร
· มีการนำข้อมูลจากระบบบริการความเสี่ยงไปใช้ประโยชน์ในระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร เช่น การพัฒนาบุคลากร การออกแบบระบบงานต่างๆ ในภาพรวม
· มีการประเมินประสิทธิภาพของระบบบริการความเสี่ยงอย่างไร นำไปสู่การปรับปรุงอะไรบ้าง
5. วัฒนธรรมความปลอดภัยเด่นชัด
· มีข้อมูลอะไรที่แสดงให้เห็นว่ามีวัฒนธรรมความปลอดภัย ทั้งในด้านเจตคติ ความเชื่อ พฤติกรรม กระบวนการและผลลัพธ์ (ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ESB maree shongtal 6-10-52

Positive thinking
เริ่มแต่เช้า
เราอยู่ รพ เราได้ทำบุญตลอดเวลา เราได้บุญตลอดเวลา ให้ด้วยใจ
Excellent Service Behavior ESB
เชื่อใจ ไว้ใจ วางใจ

Personality
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียหน้า
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียหาย
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียใจ
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียความรู้สึก

คำพูดที่พึงกล่าวประจำ
สวัสดีคะ ยินดีรับใช้
ศิลปะการใช้โทรศัพท์
ยิ้มก่อนรับโทรศัพท์
ไม่ออกภาษาท่าทาง
ไม่ปล่อยให้โทรศัพท์เกิน 3 ครั้ง
กรุณารอสักครู่ ต้องรอไม่เกิน 20 วินาที
ก่อนวางหูต้องสอบถามลูกค้าเสมอ

ประชุมซ้อมแผนไข้หวัดระดับอำเภอ 06-11-52

ไข้หวัดใหญ่
Vedio เช็ดมือด้วยกระดาษชำระ ปิดก็อกน้ำ กระดาษชำระดันประตู
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่
เริ่มมีการรายงานว่ามีการระบาดระลอก 2
การติดต่อ
ไอ จามใส่กัน เร็วและแรง
ทางอ้อม ติดทางสัมผัส http://www.youtube.com/watch?v=YZBeOp_U_Tg

pathophysiology
เกิดปอดอักเสบ lower lung
ยา Osteomivir ออกฤทธิ์ดีในระยะแรก 48 ชั่วโมง
Tip
commander
[N] ผู้บังคับบัญชา, See also: หัวหน้า, ผู้บัญชาการ, ผู้ออกคำสั่ง, Syn. commandant, head, administrator, chief, leader, captain, dictator, ruler, skipper
commander in chief
[N] ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, See also: แม่ทัพ, Syn. commandant, head, administrator, chief, leader, captain, dictator, ruler, skipper


กรณี flu ระบาด บทบาท รพ ดังนี้
1 คัดกรองผู้ป่วยที่มา OPD มีการจัดช่องทางไว้สำหรับผู้ป่วย แยกห้องตรวจ
2 เตรียมความพร้อมห้องแยก ตึกแยก อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ยา และบุคคลากร
3 จัดระบบการรักษาพยาบาลตามแนวทางการดูแลรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลรวมถึงวางระบบ IC
4 เตรียมส่งต่อผู้ป่วยอย่างชัดเจน
5 ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์
6 ขอสนับสนุนบุคลากรแพทย์ จาก รพ.สุรินทร์ สสจ.
รุนแรงขึ้น
7 จัดหาบุคคลากรทางการแพทย์ทดแทน ระบบหมุนเวียน
8 ขอสนับสนุนจาก รพ ข้างเคียง
9 ออกพื้นที่ บริเวณท่ระบาด
()
Todo
เสียงตามสาย วิดิทัศน์ป้องกันไข้หวัดใหญ่


วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision) โรงพยาบาลดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน บริการเด่น เป็นที่ยอมรับและประทับใจ

วิสัยทัศน์โรงพยาบาลน่าอยู่ เน้นการเรียนรู้ ผู้รับบริการปลอดภัย ผู้ให้บริการเก่ง ดี มีความสุข มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง ภายในปี 2554

เป็นสถานบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพและพึงพอใจ ประชาชนมีสภาวะสุขภาพที่ดี
วิสัยทัศน์ : เป็นผู้นำในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ประทับใจของผู้ใช้บริการ
วิสัยทัศน์ (Vission) โรงพยาบาลชุมชนที่มีมาตรฐาน ทีมงานและเครือข่ายเข้มแข็ง และเป็นโรงพยาบาลที่ดีของชุมชน

วิสัยทัศน์
เราจะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ในจังหวัดตรังที่มีคุณภาพเป็นเลิศด้านบริการ ภายในปี 2553
วิสัยทัศน์โรงพยาบาลเขาสมิงมีระบบให้บริการที่ดี มีความปลอดภัย ประชาชนไว้วางใจเลือกใช้บริการ
พันธกิจ
พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ประชาชน เสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการวางแผนด้านสุขภาพ การพัฒนาบุคลากร ระบบสารสนเทศตลอดจนสิ่งแวดล้อมให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัย
เป้าหมาย
– โรงพยาบาลมีความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมสวยงาม น่าอยู่ น่าทำงาน
– ประชาชนมีสุขภาพดี พึงพอใจในบริการที่ได้รับ
– บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ
– ระบบสารสนเทศได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม ทันสมัย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ

วิสัยทัศน์โรงพยาบาลน่าอยู่ เน้นการเรียนรู้ ผู้รับบริการปลอดภัย ผู้ให้บริการเก่ง ดี มีความสุข มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง ภายในปี 2554

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข

แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข

วิสัยทัศน์ : กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบายและมาตรฐาน กำกับ ดูแล สนับสนุนและประสานงานกับทุกภาคีในสังคม ในการพัฒนาระบบสุขภาพของชาติ ให้เป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ : กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคภัย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด(พ.ร.บ.ระเบียบราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 42)

เป้าหมายการให้บริการกระทรวงสาธารณสุข :
1.ประชาชนมีอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่สำคัญลดลง
2.ประชาชนมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพดี
3.ประชาชนได้รับความคุ้มครองด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
4.ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน อย่างเป็นธรรม เสมอภาค
5.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพแบบองค์รวมด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
6.ระบบการบริหารจัดการได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพแหล่งข้อมูล
:http://gotoknow.org/blog/tri-paki/5749

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

HOS TUMBONE 20-10-52

RM 01-10-52 => 22-10-52

วาระที่ 1 -
วาระที่ 2 -
วาระที่ 3 -
วาระที่ 4 -
เพิ่มช่องทาง
1 IR
1.1 การเขียนอุบัติการณ์
1.2 เพิ่มช่องทางคีย์เข้าคอมพิวเตอร์
2 IC PCT round ENV เพิ่มความสม่ำเสมอส่งผลการ round ทุกเดือน (ทุกวันที่ 21)
3 ทบทวนเวชระเบียน ประสาน PCT(12 กิจกรรม) Audit ส่งข้อมูล ขอทุกเดือน xero report
4 เปิดตู้ร้องเรียน
5 การทบทวนโดยผู้ชำนาญกว่า (ER case)
6 ทบทวน จากเวชระเบียน 5 case ต่อเดือนต่อแพทย์ (re-admit refer) ประสาน PCT
7 ผลการประเมินตนเอง แต่ละหน่วยงาน
8 ผลการประเมิน HNQA QA Healthy work place ทีมวิศวกรรม อื่น
เพิ่มบทบาทในการรวบรวม วิเคราะห์แนวโน้ม
- วิเคราะห์ทุกเดือน ขอผลการวิเคราะห์
- ปรับ IR ทางคอม พฤศจิกายน 52 วิเคราะห์เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม 52
- สรุป วิเคราะห์ เดือน กรกฎา –
- นำเสนอหน่วยงานแต่ละเดือน
- แยกแหล่งที่มา
ระบบแก้ปัญหา
- อุบัติการณ์ซ้ำ ๆ RM เข้าไปช่วย
- ความรุนแรง
เพิ่มแรงจูงใจการส่งความเสี่ยง
- ให้รางวัลหน่วยงานที่เขียน IR มาก ทุก 3 เดือน

แจ้งที่ประชุม
ปรับระดับจาก 1-7 เป็น A-I
แจ้ง Flow

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ประชุมอัคคีภัย 28 กันยายน 2552

แต่ละฝ่ายเสนอแผน
นัดประชุม 19 ตุลาคม 2552