วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

RM HA 601














วันนี้เราจะมาพูดถึงความเสี่ยงนะครับ

1 ประเภทของความเสี่ยง

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์


สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาล ได้แก่ อันตรายหรือการบาดเจ็บต่อร่างกายและจิตใจ เหตุร้าย ภาวะคุกคาม ความไม่แน่นอน exposure และการเปิดเผยความลับ

ความเสี่ยงที่เกิดกับผู้ป่วย มีทั้งด้านกายภาพ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
ความเสี่ยงที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วย เรียกว่า ความเสี่ยงทางด้านคลินิก ซึ่งอาจจำแนกเป็น ความเสี่ยงด้านคลินิกทั่วไป และความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค สำหรับ รพ.สังขะของเราแบ่งความ

สำหรับ รพ.สังขะของเราแบ่งความเสี่ยง เป็น 2 ประเภทได้แก่
1 ความเสี่ยงทางด้านคลินก
2 ความเสี่ยงทางด้าน Non clinic

2 Systemic focus and systemic approach

เมื่อเกิดความเสี่ยง ท่านคิดว่า ท่านจะเน้นการปรับปรุงที่ตัว บุคคลหรือปรับที่ระบบงานดีกว่า
ถูกต้องแล้วครับ ... เราควรจะเน้นปรับปรุงที่ตัวระบบงานมากกว่าที่จะกล่าวโทษตังบุคคลที่เป็นต้นเหตุของปัญหา (systemic focus)
ทีนี้เรามาดูคำว่า Syetemic appraoch กัน
Systemic approach เป็นความพยายามที่จะทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีข้อจำกัด
pic Risk management system
3. วัฒนธรรมความปลอดภัย
วัฒนธรรมคือวิถีชีวิตที่ดีงาม ที่ผู้คนปฏิบัติคล้ายกันโดยอัตโนมัติ ผูคนยอมรับและปฏิบัติจนเคยชิน (การไหว้)
วัฒนธรรมความปลอดภัย คือ ความเชื่อที่ทุกคนยึดมั่น และปฏิบัติจนเป็นนิสัยไปในทิศทางเดียวกัน ในเรื่องความปลอดภัย (การล้างมือ )
Pic 2 การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
4. กิจกรรมบริหารความเสี่ยงในบันไดขั้นที่ 3
การแบ่งระดับความรุนแรงของความเสี่ยง

1. ความเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็น 9 ระดับดังนี้

A : เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอุบัติการณ์ เช่น เกือบ off ICD ผิดคน แต่ตรวจพบก่อน เนื่องจากมีการย้ายเตียงผู้ป่วยและแพทย์คิดว่าอยู่เตียงเดิม หรือเขียนใบ request X-ray/lab ผิด แต่ยังไม่ทันได้ order หรือพื้นทางเดินเปียกเสี่ยงต่อการลื่นล้ม เป็นต้น

B : เกิดอุบัติการณ์ขึ้น แต่ไม่ส่งผลถึงผู้ป่วย เช่น ส่งผู้ป่วยไป x-ray ผิดคน แต่ยังไม่ทันได้ x-ray หรือ จ่ายเลือดผิดแต่ตรวจสอบพบก่อนที่จะให้ผู้ป่วย หรือแพทย์ set ผ่าตัดผิดคน / ผิดข้าง แต่ทราบก่อนที่หอผู้ป่วยจะเตรียมผ่าตัดผู้ป่วย หรือเภสัช ฯ จ่ายยาผิดแต่ดักจับพบก่อน เป็นต้น

C: เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย แต่ไม่ทำให้ได้รับอันตราย เช่น แพทย์ set ผ่าตัดผู้ป่วยผิดราย ผู้ป่วยได้รับการเตรียมผ่าตัดผิดไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด หรือ x-ray ผู้ป่วยผิดข้าง / ผิดคน แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับอันตราย หรือเจาะเลือดผู้ป่วยผิดราย แต่ทราบก่อนที่จะส่งไป หรือให้ยา MTV ผิดเวลา เป็นต้น

D : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย และต้องการการเฝ้าระวัง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดอันตราย หรือต้องมีการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยตกเตียงแล้วต้องมีการสังเกตอาการ/เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ( neurological signs )แต่ไม่มีการรักษาอื่นเพิ่มเติม

E : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องมีการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยตกเตียง ศีรษะแตกต้องให้แพทย์เย็บแผล

F : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องนอนโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลนานขึ้น

G : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายถาวร

H : เกิดอุบัติการณ์กับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เตรียมประชุม RM 24 -11 -09


มาตรฐานที่ต้องมี


ค้นหาและจัดลำดับความสำคัญ


1 การเขียนใบ IR การลงข้อมูลทางคอม
2 ข้อมูลจากการ Round PCT IC ENV
3 ผลการทบทวน 12 กิจกรรม ประสาน PCT ส่งทุกวันที่ 21 ของเดือน
4 บันทึกประจำวัน ผลการประชุมเดือนของหน่วยงาน ทีมคุณภาพ
(ลงแบบฟอร์ม ประจำเดือน)
5 คำร้องเรียน จากตู้ร้องเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สมุดบัญทึกความคิดเห็นจากญาติ
6 ทบทวนเวชระเบียนโดย trigger tool โดย PCT PTC ขอทุก 21 ของเดือน
7 วิเคราะห์กระบวนการหลัก
8 ข่าว สื่อ ความเสี่ยง รพ อื่น นโยบายจาก สสจ กระทรวง ร ทีม RMจัดลำดับความสำคัญ ตาราง 1

clinical
A-I
Non clinical (ชื่อเสียง)
0 = ไม่ผลกระทบ
1 = ในหน่วยงาน
2 = ทั้ง รพ
3 = ทั้ง รพ คนนอก
4 = ทั้ง รพ คนนอก สื่อ ร้องเรียน
5 = ฟ้องร้อง

Non clinical(ด้านการเงิน)
0 = 0
1 = < 2 =" 10,001-50,000" 3 =" 50.001-" 4 =" 100,001"> 500,000

กำหนดมาตรการป้องกัน สื่อสาร สร้างความตระหนัก

ระบบรายงานอุบัติการณ์
(ปรับ flow )
- ปรับแบบฟอร์มการทบทวนสื่อสารระบบที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์หาสาเหตุและการแก้ปัญหา

ใบ IR ทางคอม ระดับความรุนแรงน้อย pop up

ประเมินประสิทธิผลแบบ form RCA FMEA Risk matrix

Trend ผลการวิเคราะห์

ประสานระบบที่เกี่ยวข้อง

แผน17- 19 พ.ย ส่งผู้รับผิดชอบอบรม
3 ธ.ค 52 ประชุมทีม RM นโยบายความปลอดภัย เตรียมอบรม
กลางเดือน ประชุมคุณภาพ ประจำเดือน เสนอและผลการประชุม 3 ธ.ค 2552 IR ทางคอม web RM flow แบบฟอร์ม
4- 20 ธ.ค 52 เตรียมอบรม
20 – 29 ธ.ค อบรมบุคคลากร RM +work shop simple safety culture 100 %
21 ของเดือน รวบรวม วิเคราะห์ ความเสี่ยง

กลางเดือน รายงาน ความคืบหน้าทุกเดือน
มกรา และทุก 3 เดือน สร้างแรงจูงใจ จัดเวทีนำเสนอ

ทุก 1 ปี เพิ่มศักยภาพ RM ทุกปี ตาม พรพ

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ธรรมนูญองค์กรแพทย์

ธรรมนูญองค์กรแพทย์


ธรรมนูญองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลสังขะ

หมวดที่ 1
ข้อที่ 1 บททั่วไป
1.1 องค์กรนี้ชื่อว่า “องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ
1.2 สำนักงานห้องพักแพทย์
1.3 ธรรมนูญองค์กรแพทย์ หมายถึง กฎหรือระเบียบซึ่งเป็นข้อบังคับในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรแพทย์

ข้อที่ 2 วัตถุประสงค์
2.1 รักษามาตรฐานทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
2.2 เสริมสร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในกลุ่มแพทย์
2.3 ประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
2.4 วิเคราะห์นำเสนอการบริหารทางการแพทย์ โดยสอดคล้องกับนโยบายโรงพยาบาลสังขะและกระทรวงสาธารณสุข
2.5 ร่วมในการพัฒนาโรงพยาบาลตามนโยบายของโรงพยาบาล
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สมาชิกองค์กร

หมวดที่ 2
สมาชิกองค์กรแพทย์
ข้อ 3 สมาชิกองค์กรแพทย์ได้แก่ แพทย์ที่ปฏิบัติราชการโรงพยาบาลสังขะ
ข้อ 4 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ ตาย ลาออกจากราชการ ย้ายไปปฏิบัติงานที่อื่น

หมวดที่ 3 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ 5 ประธานองค์กรแพทย์ คือหัวหน้าแพทย์เวชปฏิบัติ ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการ
ข้อ 6 สมาชิกมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
6.1 ดำเนินการขององค์กรแพทย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
6.2 ตั้งคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมขององค์กรแพทย์
6.3 ดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือมติขององค์กรแพทย์

หมวดที่ 4 การจัดประชุม
ข้อ 7.1 ต้องจัดให้มีการประชุมองค์กรแพทย์อย่างน้อยทุก 1 เดือนและต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 % ของสมาชิกจึงถือว่าครบองค์ประชุม

หมวดที่ 5 มติขององค์กรแพทย์
ข้อ 8 มติขององค์กรแพทย์ถือเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับที่สมาชิกต้องปฏิบัติ
ข้อ 9 การลงมติใดๆ จะมีได้ต่อเมื่อมีผู้เข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม
ข้อ 10 คณะกรรมการองค์กรแพทย์จะต้องแจ้งมติการประชุมให้สมาชิกทุกคนทราบ

หมวดที่ 6 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงธรรมนูญองค์กรแพทย์จะกระทำโดยมีสมาชิกร่วมลงชื่อสนับสนุนอย่างน้อยเกินครึ่งของสมาชิกทั้งหมดเสนอผ่านผู้อำนวยการ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

MSO prepare

บทที่ 11 องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ

MED.1 เป้าหมายและวัตถุประสงค์


มีการกำหนดพันธกิจ ขอบเขต เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการจัดบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล และของหน่วยให้บริการทางการแพทย์แต่ละสาขา เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน

องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อธำรงรักษามาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตลอดจนการพัฒนาเวชปฏิบัติและทบทวนวิชาการเพื่อบริการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยและต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติศึกษา วิเคราะห์งานด้านเวชระเบียนและข้อมูลการบริการทางการแพทย์หรือตัวชี้วัด พร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนที่มารับการรักษาจากโรงพยาบาลสังขะ มั่นใจว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ อีกทั้งเป็นองค์กรส่งเสริมความสามัคคีระหว่างสมาชิก และประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาคุณภาพงานบริการแก่ผู้ป่วย และเป็นที่แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทางวิชาชีพและสามารถสรุปเป็นมติขององค์กรแพทย์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลสังขะ

MED.2 การจัดองค์กรและการบริหาร
มีการจัดองค์กรและการบริหารเพื่อจัดให้มีบริการทางการแพทย์ ตามพันธกิจที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
โรงพยาบาลสังขะ จัดแบ่งองค์กรแพทย์แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่
1.โครงสร้างการบริหาร
2.โครงสร้างคณะทำงานด้านคุณภาพ แพทย์ทุกท่านรับผิดชอบงานคุณภาพทุกคน เป็นแกนนำในการัฒนางานคุณภาพในทุก ๆ ด้าน

MED.3 การจัดการทรัพยากรบุคคล

มีการคัดเลือกการกำหนดสิทธิการดูแลผู้ป่วย การจัดอัตรากำลัง และการดูแลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้แพทย์ที่มีความรู้ ทักษะ และจำนวนที่เหมาะสมกับภาระงาน
3.1 มีการจัดจำนวนแพทย์ปฏิบัติงานเพียงพอตามความจำเป็นของผู้ป่วย
จำนวนการปฏิบัติงานของแพทย์ขึ้นกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยทางกลุ่มงานต่าง ๆ จะรับผิดชอบจัดสรรแพทย์ให้พอเพียงต่อการปฏิบัติแต่ละด้าน โดยให้แต่ละกลุ่มงานได้วิเคราะห์ภาระงาน ความจำเป็นและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ และทางกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพจะจัดสรรจำนวนแพทย์ใช้ทุน ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในกลุ่มงานต่าง ๆ โดยเสมอภาคตามข้อกำหนดของกระทรวง
3.2 มีกลไกดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมและแพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ กลไกการดูแลแพทย์ฝึกหัดที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ
- ปฐมนิเทศรวม โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ แบ่งเป็นปฐมนิเทศในสถานที่ จะมีการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน สิทธิ ผลประโยชน์ นโยบายโรงพยาบาล และนอกสถานที่ จะเน้นถึงความสัมพันธ์ในองค์กร , ปฐมนิเทศย่อยของกลุ่มงาน โดยจัดทำคู่มือปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนให้ด้วย
- ได้มีการสื่อสารจนมีความเข้าใจร่วมกันให้มีการปรึกษาผ่านระบบสื่อสารได้ตลอดเวลา

MED.4 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มีการเตรียมความพร้อม การพัฒนา และการฝึกอบรมให้กับแพทย์ เพื่อส่งเสริม และเอื้ออำนวย ให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของแพทย์แต่ละคน
4.1 มีการประเมินความต้องการและกำหนดเนื้อหาในการฝึกอบรม
ทางโรงพยาบาลมีนโยบายส่งเสริมด้านการพัฒนางานในด้านวิชาการและความรู้ โดยแพทย์ทุกคนสามารถสมัครไปอบรมเรื่องวิชาชีพ และความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างน้อย 2 ครั้ง/คน/ปี โดยเนื้อหาจากการประชุมมีประโยชน์ภายในกลุ่มงานสามารถนำมาพัฒนาศักยภาพ เฉพาะด้านในแต่ละคนได้
4.2 มีแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
โรงพยาบาลสนับสนุนให้แต่ละกลุ่มงานร่วมประชุมวิชาการภายในกลุ่มงาน โดยสามารถเชิญวิทยากรภายนอกได้อย่างอิสระ และสนับสนุนเงินทุนด้านตำราหนังสือวิชาการเข้าห้องสมุดและห้องพักแพทย์ทุกปี สำหรับงานบางด้านที่ต้องการความรู้เฉพาะด้าน มีการสื่อสารให้แพทย์ผู้เกี่ยวข้องไปอบรมโดยตรงตามความเหมาะสมไม่จำกัดจำนวนครั้ง
4.3 มีการจัดปฐมนิเทศสำหรับแพทย์ใหม่ หัวหน้าหน่วยงาน และประธานคณะกรรมการ ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ ในเรื่องนโยบาย วิธีการทำงาน และความคาดหวังขององค์กร
ทางโรงพยาบาลได้จัดปฐมนิเทศให้แก่แพทย์จบใหม่และผู้ที่ย้ายมาปฏิบัติงานใหม่ทุกปี รวมถึงปฐมนิเทศภายในหน่วยงานเพื่อให้รับทราบระเบียบละแนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง และนโยบายโรงพยาบาลกำแพงเพชร
4.4 มีการพัฒนา ฝึกอบรม และศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ ที่สอดคล้องกับปัญหาการดูแลรักษาผู้ป่วย โรงพยาบาลมีกลุ่ม resource plan ประสานงานกับองค์กรแพทย์ โดยคำนึงถึงศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้นแพทย์ทุกกลุ่มงานจะมีการวางแผนส่งแพทย์ไปอบรม เพื่อปฏิบัติงานแก้ปัญหาของโรงพยาบาล
4.5 มีการประเมินแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปของการเปลี่ยนพฤติกรรม และผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วย
องค์กรแพทย์ มีการประเมินผลการปรับแผนพัฒนาทรัพยากรทุกปี เพื่อสอดคล้องกับผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วย

MED.5 ธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติ
มีธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งสะท้อนความรู้และหลักการวิชาชีพที่ทันสมัย สอดคล้องกับพันธกิจของบริการทางการแพทย์/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และทุกคนยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
5.1 มีการจัดทำธรรมนูญหรือข้อบังคับขององค์กรแพทย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลมาตรฐานและจริยธรรมการทำงานโดยกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันเอง โดยคณะแพทย์มีส่วนร่วมในการจัดทำ และได้รับการรับรองจากองค์กรบริหารสูงสุด
5.2 มีกระบวนการจัดทำนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ รวมทั้งมีระบบในการรับรอง เผยแพร่ และทบทวน คณะกรรมการองค์กรแพทย์มีการจัดทำนโยบาย วัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กรแพทย์
5.3 เนื้อหาของนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์มีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล ครอบคลุมเรื่องของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การบริหารจัดการ ประเด็นทางจริยธรรม/กฎหมาย/สังคม ความปลอดภัย และการพัฒนากำลังคน
นโยบายขององค์กรแพทย์ ประกอบด้วย 4 ข้อ
- พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
- พัฒนาและทบทวนวิชาการให้ทันสมัยสอดคล้องกับการปฏิองแพทย์บัติงาน
- พัฒนาความสมบูรณ์และวิเคราะห์งานด้านเวชระเบียน
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของแพทย์
- สอดคล้องกลยุทธ์ของโรงพยาบาลในงานด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานวิชาชีพ

5.4 แพทย์ทุกคนรับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบาย/วิธีปฏิบัติ
ข้อตกลง/ข้อปฏิบัติใด ๆ ในองค์กรแพทย์ที่สำคัญจะต้องผ่านการรับรองจากสมาชิกทุกคนขององค์กรแพทย์

MED.6 การดูแลผู้ป่วย
แพทย์ทุกคนให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ และอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่ทันสมัย
6.1 มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างสหสาขาวิชาชีพต่างๆและภายในวิชาชีพแพทย์
งานด้านการดูแลผู้ป่วยร่วมกันในระหว่างสหสาขาวิชาชีพ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของแพทย์ ได้แก่ การรวบรวม PCT ของทีมเฉพาะด้าน เช่น ผลงานการดูแลผู้ป่วยของแต่ละ PCT เช่น
- PCT Med :

Melioidosis treatment
สูตรผสม Inotrope drugs
Epilepsy guideline
Hypertensive crisis guideline
Cellulitis - NF guideline
Acute febrile guideline
Strongyloidosis treatment
H1N1 guideline
Leptospirosis guideline
Malaria guideline


http://sangkha-medicine.blogspot.com/2009/11/155-70yr-f-dizziness-1-mo.html

- PCT สูตินรีเวชกรรม : แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
- PCT กุมารเวชกรรม : แนวทางการดูแลเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย
- PCT เวชปฏิบัติทั่วไป :

การรับปรึกษาระหว่างแผนกมีแนวทางการรับปรึกษาชัดเจนระหว่างแผนก เช่น แนวทางการรับปรึกษาผู้ป่วยแผนก อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ใน/นอกเวลาราชการ
6.2 ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการดูแลรักษา
ถือเป็นข้อตกลงร่วมกับของสมาชิกองค์กรแพทย์ โดยคณะอนุกรรมการ จริยธรรมวิชาชีพ และสิทธิผู้ป่วย กำหนดให้มีแนวทางการให้ข้อมูลผู้ป่วยของแพทย์ เช่น การให้ข้อมูลการวินิจฉัยโรค, การดำเนินการของโรค,การพยากรณ์โรค,ทางเลือกในการรักษา และให้ผู้ป่วย มีสิทธิเลือกแนวทางการรักษา
6.3 มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว กับทีมผู้ให้บริการ
ทางองค์กรแพทย์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่แพทย์ต้องให้การบริการแก่ผู้ป่วย และญาติ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย
6.4 ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการประเมินและวางแผนการดูแลรักษาเป็นระยะ

องค์กรแพทย์ได้กำหนดให้มีการพัฒนาการประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ โดยเริ่มทำผ่านทาง progress note ของแพทย์ เพื่อสะดวกในการประเมินลักษณะทางคลินิกตลอดจน แผนการรักษาที่ปรับเปลี่ยนตามอาการทางคลินิก ของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลง
6.5 กระบวนการให้บริการและดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ของโรงพยาบาล มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาล ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิผลของวิธีการรักษา
องค์กรแพทย์โดย PCT ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติการรักษาโรคที่สำคัญ พบบ่อย และมีความเสี่ยงสูง โดยมุ่งเน้นคุณภาพของการรักษา และความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วย ญาติและผู้ให้บริการ โดยแต่ละ PCT มี CPG ดังนี้
---------------------------------ขอข้อมูล PCT

6.6 มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย แผนการดูแลรักษา การปฏิบัติตามแผน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการและเกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา
คณะกรรมการองค์กรแพทย์ได้จัดทำ Admission note ,orderและจัดทำ Progress note มีประโยชน์ ในการสื่อการ การเปลี่ยนเเปลงทางคลินิกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานแพทย์ พยาบาล ทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยร่วมกัน
6.7 มีกระบวนการที่จะช่วยให้ผ้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุด
องค์กรแพทย์ผ่านทุก PCT มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องถึงระดับในชุมชน โดย PCU ในด้านการดูแลต่อเนื่องให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุด และรายงานกลับโดยใช้แบบ บส.1
ทุก PCT มี Discharge plan ในโรคที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ป่วย DM ,Stroke ใน PCT Med, ผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง , Necrotizing fasciitis , CA Breast ใน PCT ศัลยกรรม , ผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูก และผ่าตัดคลอด ใน PCT สูตินรีเวชกรรม , ผู้ป่วย Thallassemia, Diarrhea ใน PCT กุมารเวชกรรม

MED.7 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
มีกิจกรรมติดตามประเมินและพัฒนาคุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์ โดยการทำงานเป็นทีม สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของโรงพยาบาล และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
7.1 มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของบริการทางการแพทย์ โดยความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ/ทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งภายในหน่วยงาน/ระหว่างหน่วยงาน ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารทางการแพทย์
ทางองค์กรแพทย์ ตัวอย่าง Grand round PCT conference caee มีตัวแทนของสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง , แพทย์ใช้ทุน พยาบาล เภสัช นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย นักโภชนากร
การดูแลผู้ป่วยในโรคอุบัติใหม่ที่สำคัญของอำเภอสังขะ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ (swine flu) ซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงและสำคัญ ระดับประเทศ ซึ่งทางแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร่วมกันกำหนดแผนในการเตรียมรับสถานการณ์ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างดี ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร จนไม่มีปัญหาในการรับผู้ป่วยดังกล่าว สามารถกำหนดสถานที่รองรับที่ถูกต้องตามระบาดวิทยา และได้จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นมาตรฐานของโรงพยาบาลของโรงพยาบาลสังขะ
7.2 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพประกอบด้วย
7.2.1การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วยและลูกค้า (customer) หรือบุคคล/หน่วยงานที่ใช้บริการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทางองค์กรแพทย์ได้รับข้อมูลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการจากหน่วยงานด่านหน้า ได้มาปรับให้บริการเหมาะสมยิ่งขึ้น ได้แก่ ปรับให้มีแพทย์ออกตรวจช่วงเวลา 07.30 - 08.30 และ 16.30 - 20.00
7.2.2 การควบคุมกำกับ (monitor) ข้อมูลและสถิติ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ
การควบคุมเกี่ยวกับข้อมูลและสถิติ ได้กระทำผ่าน PCT ทุกเดือน โดยศูนย์ข้อมูล และกลุ่มพัฒนาบริการสุขภาพ ได้จัดทำข้อมูล และนำไปวิเคราะห์ผลเพื่อการปรับปรุง
การวิเคราะห์ผลลัพธ์ตัวชี้วัดของนโยบายพัฒนาคุณภาพขององค์กรแพทย์ ดังนี้

นโยบาย
เครื่องชี้วัด
ผลลัพธ์
1. พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
1.1 Preventable Death ลดลง > 40 %
1.2 ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ไม่เกิน 3: 100
1.3 จำนวนเรื่องร้ายแรงที่ถูกร้องเรียนเกี่ยวกับองค์กรแพทย์ = 0
Preventable Death 13.23 % เหลือ 5.63%
0.54 : 100

0
2. พัฒนาและทบทวนวิชาการทันสมัย
1.1 จำนวนหรือ % ของ CPG ที่มีและมี การใช้งานอย่างต่อเนื่อง
1.2 อัตราการพัฒนาบุคลากรทางด้านแพทย์ และทันตแพทย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
22 CPG ใช้งาน 100 %

90.36 % (ตค.46-กย.47)
3. พัฒนาความสมบูรณ์ และวิเคราะห์งาน ด้านเวชระเบียน
1.1 ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนไม่น้อยกว่า 50 %
1.2 Utilization review อย่างน้อย 1 เรื่อง/ปี
1.1 ความสมบูรณ์ของเวชระเบียน = 51.95% (กพ.-เมย.48)
1.2 เรื่อง การใช้ยา Sandostatin และการส่ง CT Brain
7.2.3 การเลือกกิจกรรมหรือกระบวนการดูแลรักษาและบริการที่สำคัญมาประเมินและปรับปรุง
7.2.4 การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพโดยใข้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการ ค้นหาสาเหตุต้นตอ (Root causes) ที่แท้จริง ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ
องค์กรแพทย์โดยคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐาน ได้ทำการแนะนำ แต่ละ PCT เริ่มกิจกรรมวิเคราะห์กระบวนการรักษาที่สำคัญ และปรับปรุงอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง โดยได้แนะนำกิจกรรม Trauma /Surgical audit เป็นตัวอย่าง ในการนำปัญหาของการรักษาพยาบาลผู้ป่วย มาทำการวิเคราะห์ และปรับปรุงค้นหา สาเหตุต้นตอที่แท้จริง เช่น ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยในภาวะ Shock ว่ามีปัญหาจากสาเหตุใด ปัญหาในการดูแลผู้ป่วย NF จนสามารถรู้สาเหตุของปัญหาและสามารถนำกระบวนการ audit มาใช้ในการสร้างสรรค์แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ได้แก่ ลด preventable death ได้ชัดเจน
7.2.5 การประเมินการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาคุณภาพ และเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ
ผลจากการทบทวนในด้านการพัฒนาคุณภาพ ได้มีการเผยแพร่เอกสาร การทบทวนดังกล่าวแก่โรงพยาบาลชุมชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพช.ทั้ง10 แห่ง
7.2.6 การติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องในระยะยาว
การติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ได้แก่ การเก็บตัวเลข ในแง่ preventable death/complication ของ Trauma audit และผู้ป่วย DM. การวิเคราะห์ความเหมาะสมในการส่ง CT brain ในผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง
7.3 มีการนำมาตรฐานแห่งวิชาชีพ และความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Evidence-based) มาเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
7.3.1 มีกระบวนการที่จะนำความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาล
ทางองค์กรแพทย์โดย PCT ของกลุ่มงานต่าง ๆ แพทย์และผู้เกี่ยวข้องจะได้นำความรู้มาตรฐาน จากราชวิทยาลัย มาจัดทำ CPG ของโรงพยาบาล โดยปรับเปลี่ยนตามศักยภาพของโรงพยาบาล
7.3.2 มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุง
ทางองค์กรแพทย์มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุง ได้แก่
- สูติ –นรีเวช ,เด็ก conference
- Trauma audit
- Clinical Review

overall scoring IM

II-5 ระบบเวชระเบียน
1. มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึก การแก้ไข การจัดเก็บ และการเข้าถึงเวชระเบียนที่เหมาะสม
2. มีการทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนตามแบบฟอร์มของ สปสช./พรพ. อย่างน้อย 3 ฉบับต่อเดือนสำหรับแพทย์แต่ละคน
· มีแนวทางอย่างไรให้แพทย์เจ้าของไข้เป็นผู้ทบทวนความสมบูรณ์ในเวชระเบียนของตนเอง
· มีการประมวลผลการทบทวนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนอย่างไร นำข้อมูลไปใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลอย่างไร
· แนวโน้มของความสมบูรณ์ของเวชระเบียนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
3. ระบบบริหารเวชระเบียนมีประสิทธิภาพ, เวชระเบียนมีความสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 50%, มีการประมวลผลข้อมูลจากเวชระเบียนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและการปรับปรุงดูแลผู้ป่วย
· ประเด็นประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชระเบียนที่ รพ.ให้ความสำคัญคืออะไร (เช่น ความรวดเร็วในการทำบัตร/การค้นหาเวชระเบียน อัตราการหายของเวชระเบียน ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผล)
· คะแนนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนเป็นอย่างไร
· มีการประมวลผลข้อมูลจากเวชระเบียนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยอย่างไร
4. มีการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจากเวชระเบียน และนำปัญหาที่พบไปปรับปรุงระบบงาน (เช่น การใช้ trigger เพื่อคัดกรองเวชระเบียนมาทบทวนหา AE และปรับปรุง)
· ใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกเวชระเบียนมาใช้ทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วย, สร้างความมั่นใจอย่างไรว่าเวชระเบียนที่นำมาทบทวนนั้นครอบคลุมโอกาสพบเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้มากที่สุด
· ขอให้ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาที่พบจากการทบทวนเวชระเบียน และการปรับปรุงระบบงานที่เกิดขึ้น (ทั้งการดูแลผู้ป่วยและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
5. ผู้ป่วยทุกรายมีเวชระเบียนซึ่งมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการสื่อสาร การดูแลต่อเนื่อง การเรียนรู้ การวิจัย การประเมินผล และการใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย
· มีการประเมินความเพียงพอของข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนเพื่อเป้าหมายการใช้ต่างๆ ข้างต้นอย่างไร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

overall scoring MSO

II-2.2 องค์กรแพทย์
1. มีการพบปะกันในกลุ่มแพทย์อย่างสม่ำเสมอและมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อเพื่อแสดงจุดยืนและธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพ
2. มีการจัดตั้งองค์กรแพทย์และกำหนดประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาและประสานเพื่อนำไปปฏิบัติ
· ประเด็นสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาในมุมมองขององค์กรแพทย์คืออะไร มีการนำไปดำเนินการอย่างไร
3. มีกลไกกำกับดูแลและส่งเสริมให้เกิดบริการทางการแพทย์ที่ดี มีมาตรฐานและจริยธรรม, แพทย์แต่ละคนประเมินผลการดูแลผู้ป่วยของตนอย่างสม่ำเสมอ
· มีแนวทางให้แพทย์แต่ละคนประเมินผลการดูแลผู้ป่วยของตนอย่างไร มีแนวทางในการเลือกผู้ป่วยมาทบทวนอย่างไร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือสรุปบทเรียนอย่างไร มีการนำมาสู่การปรับปรุงแนวทางการดูแลร่วมกันอย่างไร
· กลไกกำกับดูแลและส่งเสริมให้เกิดบริการทางการแพทย์ที่มี มีมาตรฐานและจริยธรรมมีอะไรบ้าง (เช่น กิจกรรมทบทวนคุณภาพต่างๆ การกำหนดแนวทางปฏิบัติ การส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกที่เหมาะสม การศึกษาต่อเนื่อง การประชุมวิชาการ การกำกับดูแลแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมหรือแพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ การกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรม คุณภาพเวชระเบียน)
4. มีบทบาทเด่นชัดในการเป็นผู้นำและชี้ทิศทางเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย, มีการประเมินและปรับปรุงระบบกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรม
· ขอตัวอย่างประเด็นที่องค์กรแพทย์ชี้ทิศทางเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
· ประเด็นสำคัญในการประเมินระบบกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของบริการทางการแพทย์คืออะไร ผลการประเมินเป็นอย่างไร มีการปรับปรุงอย่างไร
5. องค์กรแพทย์เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมให้ รพ.มีบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและน่าไว้วางใจ
· ขอให้นำเสนอแบบอย่างที่ดีของการส่งเสริมโดยองค์กรแพทย์

overall scoring RM

II-1.2ก. การบริหารความเสี่ยง
1. ตอบสนองปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะรายเหมาะสม
2. มีระบบรายงานอุบัติการณ์, มีการทำ RCA และวางระบบป้องกันที่รัดกุม, มีกิจกรรมสร้างความตื่นตัวในงานประจำ
· มีวิธีการส่งเสริมให้มีการรายงานอุบัติการณ์อย่างทันท่วงทีและครอบคลุมอุบัติการณ์สำคัญให้มากที่สุดอย่างไร มีการวางระบบและแรงจูงใจอย่างไร
· ทีมงานได้เรียนรู้คุณค่าของการทำ RCA อย่างไร ขอให้ยกตัวอย่าง RCAที่ทีมคิดว่าทำให้เข้าใจความหมายของ root cause ได้ดีที่สุดมา 2-3 ตัวอย่าง มีการนำไปใช้วางระบบป้องกันอย่างไร มีการขยายผลความเข้าใจจากกรณีดังกล่าวอย่างไร
· มีกิจกรรมสร้างความตื่นตัวในเรื่องความเสี่ยงในงานปกติประจำอย่างไร (เช่น safety brief, patient safety walkround)
· มีการนำกิจกรรมทบทวนคุณภาพที่เริ่มต้นไว้ในบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA มาปฏิบัติในงานปกติประจำอย่างไร เช่น การทบทวนข้างเตียง การทบทวนเวชระเบียนขณะผู้ป่วยนอนรักษาตัว การทบทวนการส่งต่อ ฯลฯ
3. วิเคราะห์ความเสี่ยงรอบด้าน (ทั้งที่เคยเกิดและที่มีโอกาสเกิด), ระบบงานได้รับการออกแบบอย่างรัดกุมและนำไปปฏิบัติ
· มีการรวบรวมสถิติเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นในองค์กรมาจัดลำดับความสำคัญ และออกแบบระบบงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้ครอบคลุมเพียงใด, การออกแบบระบบมีความรัดกุมเพียงใด, มีการพิจารณาแนวคิดเรื่องการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของ human factor อย่างไร, มีการทบทวนเวชระเบียนเพื่อเรียนรู้เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทางคลินิกได้ครอบคลุมเพียงใด
· มีการวิเคราะห์โอกาสเกิดความเสี่ยงในขั้นตอนและจุดต่างๆ ของการให้บริการอย่างไร, มีการออกแบบระบบงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงสอดคล้องกับโอกาสและความรุนแรงที่จะเกิดความเสี่ยงอย่างไร
· สร้างความมั่นใจอย่างไรว่าระบบที่ออกแบบไว้ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม, มีการติดตามการปฏิบัติในเรื่องที่สำคัญอะไรบ้าง ผลลัพธ์เป็นอย่างไร
4. บูรณาการระบบงานและระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง, มีการประเมินและปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยง
· มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุบัติการณ์และความเสี่ยงต่างๆ อย่างไร, มีการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลอย่างไร
· มีการนำข้อมูลจากระบบบริการความเสี่ยงไปใช้ประโยชน์ในระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร เช่น การพัฒนาบุคลากร การออกแบบระบบงานต่างๆ ในภาพรวม
· มีการประเมินประสิทธิภาพของระบบบริการความเสี่ยงอย่างไร นำไปสู่การปรับปรุงอะไรบ้าง
5. วัฒนธรรมความปลอดภัยเด่นชัด
· มีข้อมูลอะไรที่แสดงให้เห็นว่ามีวัฒนธรรมความปลอดภัย ทั้งในด้านเจตคติ ความเชื่อ พฤติกรรม กระบวนการและผลลัพธ์ (ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ESB maree shongtal 6-10-52

Positive thinking
เริ่มแต่เช้า
เราอยู่ รพ เราได้ทำบุญตลอดเวลา เราได้บุญตลอดเวลา ให้ด้วยใจ
Excellent Service Behavior ESB
เชื่อใจ ไว้ใจ วางใจ

Personality
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียหน้า
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียหาย
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียใจ
ไม่พูดให้ลูกค้าเสียความรู้สึก

คำพูดที่พึงกล่าวประจำ
สวัสดีคะ ยินดีรับใช้
ศิลปะการใช้โทรศัพท์
ยิ้มก่อนรับโทรศัพท์
ไม่ออกภาษาท่าทาง
ไม่ปล่อยให้โทรศัพท์เกิน 3 ครั้ง
กรุณารอสักครู่ ต้องรอไม่เกิน 20 วินาที
ก่อนวางหูต้องสอบถามลูกค้าเสมอ

ประชุมซ้อมแผนไข้หวัดระดับอำเภอ 06-11-52

ไข้หวัดใหญ่
Vedio เช็ดมือด้วยกระดาษชำระ ปิดก็อกน้ำ กระดาษชำระดันประตู
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่
เริ่มมีการรายงานว่ามีการระบาดระลอก 2
การติดต่อ
ไอ จามใส่กัน เร็วและแรง
ทางอ้อม ติดทางสัมผัส http://www.youtube.com/watch?v=YZBeOp_U_Tg

pathophysiology
เกิดปอดอักเสบ lower lung
ยา Osteomivir ออกฤทธิ์ดีในระยะแรก 48 ชั่วโมง
Tip
commander
[N] ผู้บังคับบัญชา, See also: หัวหน้า, ผู้บัญชาการ, ผู้ออกคำสั่ง, Syn. commandant, head, administrator, chief, leader, captain, dictator, ruler, skipper
commander in chief
[N] ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, See also: แม่ทัพ, Syn. commandant, head, administrator, chief, leader, captain, dictator, ruler, skipper


กรณี flu ระบาด บทบาท รพ ดังนี้
1 คัดกรองผู้ป่วยที่มา OPD มีการจัดช่องทางไว้สำหรับผู้ป่วย แยกห้องตรวจ
2 เตรียมความพร้อมห้องแยก ตึกแยก อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ยา และบุคคลากร
3 จัดระบบการรักษาพยาบาลตามแนวทางการดูแลรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลรวมถึงวางระบบ IC
4 เตรียมส่งต่อผู้ป่วยอย่างชัดเจน
5 ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์
6 ขอสนับสนุนบุคลากรแพทย์ จาก รพ.สุรินทร์ สสจ.
รุนแรงขึ้น
7 จัดหาบุคคลากรทางการแพทย์ทดแทน ระบบหมุนเวียน
8 ขอสนับสนุนจาก รพ ข้างเคียง
9 ออกพื้นที่ บริเวณท่ระบาด
()
Todo
เสียงตามสาย วิดิทัศน์ป้องกันไข้หวัดใหญ่


วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision) โรงพยาบาลดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน บริการเด่น เป็นที่ยอมรับและประทับใจ

วิสัยทัศน์โรงพยาบาลน่าอยู่ เน้นการเรียนรู้ ผู้รับบริการปลอดภัย ผู้ให้บริการเก่ง ดี มีความสุข มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง ภายในปี 2554

เป็นสถานบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพและพึงพอใจ ประชาชนมีสภาวะสุขภาพที่ดี
วิสัยทัศน์ : เป็นผู้นำในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ประทับใจของผู้ใช้บริการ
วิสัยทัศน์ (Vission) โรงพยาบาลชุมชนที่มีมาตรฐาน ทีมงานและเครือข่ายเข้มแข็ง และเป็นโรงพยาบาลที่ดีของชุมชน

วิสัยทัศน์
เราจะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ในจังหวัดตรังที่มีคุณภาพเป็นเลิศด้านบริการ ภายในปี 2553
วิสัยทัศน์โรงพยาบาลเขาสมิงมีระบบให้บริการที่ดี มีความปลอดภัย ประชาชนไว้วางใจเลือกใช้บริการ
พันธกิจ
พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ประชาชน เสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการวางแผนด้านสุขภาพ การพัฒนาบุคลากร ระบบสารสนเทศตลอดจนสิ่งแวดล้อมให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัย
เป้าหมาย
– โรงพยาบาลมีความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมสวยงาม น่าอยู่ น่าทำงาน
– ประชาชนมีสุขภาพดี พึงพอใจในบริการที่ได้รับ
– บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ
– ระบบสารสนเทศได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม ทันสมัย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ

วิสัยทัศน์โรงพยาบาลน่าอยู่ เน้นการเรียนรู้ ผู้รับบริการปลอดภัย ผู้ให้บริการเก่ง ดี มีความสุข มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง ภายในปี 2554