วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

overall scoring IM

II-5 ระบบเวชระเบียน
1. มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึก การแก้ไข การจัดเก็บ และการเข้าถึงเวชระเบียนที่เหมาะสม
2. มีการทบทวนความสมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียนตามแบบฟอร์มของ สปสช./พรพ. อย่างน้อย 3 ฉบับต่อเดือนสำหรับแพทย์แต่ละคน
· มีแนวทางอย่างไรให้แพทย์เจ้าของไข้เป็นผู้ทบทวนความสมบูรณ์ในเวชระเบียนของตนเอง
· มีการประมวลผลการทบทวนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนอย่างไร นำข้อมูลไปใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลอย่างไร
· แนวโน้มของความสมบูรณ์ของเวชระเบียนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
3. ระบบบริหารเวชระเบียนมีประสิทธิภาพ, เวชระเบียนมีความสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 50%, มีการประมวลผลข้อมูลจากเวชระเบียนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและการปรับปรุงดูแลผู้ป่วย
· ประเด็นประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชระเบียนที่ รพ.ให้ความสำคัญคืออะไร (เช่น ความรวดเร็วในการทำบัตร/การค้นหาเวชระเบียน อัตราการหายของเวชระเบียน ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผล)
· คะแนนความสมบูรณ์ของเวชระเบียนเป็นอย่างไร
· มีการประมวลผลข้อมูลจากเวชระเบียนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยอย่างไร
4. มีการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจากเวชระเบียน และนำปัญหาที่พบไปปรับปรุงระบบงาน (เช่น การใช้ trigger เพื่อคัดกรองเวชระเบียนมาทบทวนหา AE และปรับปรุง)
· ใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกเวชระเบียนมาใช้ทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วย, สร้างความมั่นใจอย่างไรว่าเวชระเบียนที่นำมาทบทวนนั้นครอบคลุมโอกาสพบเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้มากที่สุด
· ขอให้ยกตัวอย่างประเด็นปัญหาที่พบจากการทบทวนเวชระเบียน และการปรับปรุงระบบงานที่เกิดขึ้น (ทั้งการดูแลผู้ป่วยและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
5. ผู้ป่วยทุกรายมีเวชระเบียนซึ่งมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการสื่อสาร การดูแลต่อเนื่อง การเรียนรู้ การวิจัย การประเมินผล และการใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย
· มีการประเมินความเพียงพอของข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนเพื่อเป้าหมายการใช้ต่างๆ ข้างต้นอย่างไร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น